เลือกวิชาเรียนใน IB อย่างไร


จากประสบการณ์ของพี่ที่เรียนจบ IB เมื่อปี 2016 ที่ผ่านมาอยากจะแนะนำน้องๆให้
  1. เลือกตามความชอบและความถนัดของตนเองในวิชานั้นๆ
  2. เลือกให้เหมาะสมกับคณะที่จะสมัครในมหาวิทยาลัย
คลิกที่ลิ้งค์ได้เพื่อดูตัวอย่างการเลือกวิชา
http://www.ibo.org/programmes/diploma-programme/curriculum/example-subject-choices/

จากข้อสอง พี่ขออธิบายคร่าวๆว่า มหาวิทยาลัยในแต่ละประเทศมีเกณฑ์การรับนักเรียน IB ที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักมีความต้องการให้นักเรียนเลือกวิชาเรียนใน IB ให้สอดคล้องกับคณะที่สมัคร 

หลังจากนี้พี่จะขออธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับวิชาเลือกต่างๆใน 6 หมวดวิชาของ IB Diploma

วิชาเลือกในหมวด 1: Studies in language and literature หรือมักเรียกว่า Language A
  • จำเป็นต้องเลือกอย่างน้อยหนึ่งวิชา
  • ควรเป็นวิชาภาษาแรก (native language) ของน้องๆเอง แต่ถ้าหากน้องๆมีความเชี่ยวชาญในภาษานั้นๆมากถึงระดับที่ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาก็สามารถเลือกเรียนวิชาภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแรกของตนได้เช่นเดียวกัน 
  • สามารถเลือกสองวิชา เช่น Thai A กับ English A language and Literature ได้ถ้ามีความเชี่ยวชาญระดับเจ้าของภาษาหรือใกล้เคียงเจ้าของภาษาในทั้งสองภาษานั้น (ส่วนใหญ่แล้วแต่โรงเรียนจะพิจารณา แต่เป็นไปได้) โดยจบแล้วจะได้รับ biligual diploma
  • ความยากของวิชานี้คือมีส่วนของวรรณกรรม (literature) เข้ามาผสมด้วย ผู้เรียนจะต้องวิเคราะห์วรรณกรรมและเขียนข้อคิดเห็นของตนเพื่อการทำข้อสอบหรือ Internal Assessment (IA)
วิชาเลือกในหมวด 2: Language acquisition 
  • จำเป็นต้องเลือกหนึ่งวิชา
  • ควรเป็นวิชาภาษาที่สองหรือสามของเรา 
  • มีให้เลือกเป็นสามแบบ ab initio, standard และ higher level 
  • ab initio สำหรับภาษาที่เราไม่มีพื้นฐานมาก่อน เพิ่งเริ่มเรียนในหลักสูตร IB diploma 
  • Standard level สำหรับภาษาที่สองที่เราการเรียนรู้อย่างน้อย 
  • Higher level
วิชาเลือกในหมวด 3: Individuals and societies

  • วิชาแนวสังคมศาสตร์ (humanities)
  • สามารถเลือกหรือไม่เลือกก็ได้  (optional)
  • ตัวอย่างวิชา เช่น Business Management, Global Politics, Geography

วิชาเลือกในหมวด 4: Sciences
  • จำเป็นต้องเลือกอย่างน้อยหนึ่งวิชา
  • ตัวอย่างวิชา เช่น Biology, Physics, Chemistry, Computer Science, Design Technology
  • ถ้าหากไม่ชอบเรียนวิทย์อาจจะเลือกเป็น Design Technology ท่ีไม่ได้เน้นหนักด้านวิทย์มากได้

วิชาเลือกในหมวด 5: Mathematics
  • จำเป็นต้องเลือกหนึ่งวิชา
  • มีวิชาเลขที่ความยากหลายระดับ 
  • ถ้าหากไม่ชอบเลข และสนใจคณะสาย art and humanities ควรเลือก Math Studies ระดับความง่ายใกล้เคียงเลข ม.3 ไทย
  • ถ้าหากเรียนเลขได้ เลือก Math Standard Level สามารถใช้เข้าคณะในสายต่างๆได้หลายสาย เป็น minimum math requirement ที่หลายๆคณะในมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆต้องการ
  • ถ้าหากชอบเลข และสนใจคณะสายวิศวะ แพทย์ หรือเศรษฐศาสตร์ ที่ต้องใช้เลขในระดับสูง ควรเลือก Math Higher Level ที่มีระดับความยากมากที่สุด

วิชาเลือกในหมวด 6:The arts
  • วิชาแนวศิลปะ
  • สามารถเลือกหรือไม่เลือกก็ได้  (optional)
  • วิชาเลือก เช่น Visual Arts, Theatre, Film
  • เหมาะกับน้องๆที่อยากต่อด้าน Arts หรือ Architecture 

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าโรงเรียนของน้องๆมีวิชาเลือกในแต่ละหมวดหลากหลายแค่ไหน บางโรงเรียนอาจมีวิชาให้เลือกเยอะ ในขณะที่โรงเรียนอื่นอาจมีให้เลือกน้อยกว่า ตอนที่พี่เรียน IB อยู่โรงเรียนพี่มี choice ให้เลือกในหมวด 4: sciences น้อย แค่ Physics, Chemistry, Sport Science และ Biology ไม่มีวิชาเช่น Design Technology สำหรับเด็ก ก็อาจจะทำให้ต้องเลือกเรียนวิชาที่เราอาจจะถนัดน้อยกว่า ดังนั้นเวลาเลือก IB School อาจจะต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย

Comments

Popular posts from this blog

หลักสูตร IB Diploma คืออะไร